บทที่ 5 วัฏจักร (วงจรชีวิต) การพัฒนาระบบการจัดการความรู้



หัวข้อที่เกี่ยวข้องมี 4 หัวข้อคือ 

> Compare CSLC and KMSLC (เปรียบเทียบระหว่าง CSLC และ KMSLC)
> User’s vs. Expert’s Characteristics  (คุณลักษณะของผู้ใช้งาน กับ ผู้เชี่ยวชาญ)
> Stages of KMSLC  (ขั้นตอนวงจรการพัฒนาระบบ)
> Layers of KM Architecture  (ระดับของสถาปัตย์กรรมของความรู้)

การพัฒนาการจัดการความรู้

  •       นักวิเคราะห์ระบบ  จะกระทำกับสารสนเทศที่มาจากความต้องการของผู้ใช้
  •       ผู้ใช้งาน  จะรู้ปัญหาเป็นอย่างดีแต่ไม่รู้ทางแก้ ตรงกันข้ามผู้เชียวชาญจะรู้ทั้งปัญหาและทางแก้
  •       วงจรการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม  โดยทั่วไปจะประกอบด้วยขั้นตอนที่เป็นลำดับมาก่อนมาหลังส่วนKM SLC การพัฒนาแบบเพิ่มพูล พัฒนาทีละส่วนจนเสร็จก่อนถึงจะนำไปใช้ได้
  •      การทดสอบระบบ  ปกติจะกระทำขั้นตอนสุดท้ายของวงจร แต่ถ้าป็น KM system testing จะเข้าไปมีส่วนตั้งแต่เริ่มต้นเลย
  •      วงจรการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม  ขับเคลื่อนไปด้วยกระบวนการ หรือเรียกว่า มีการกำหนดความต้องการและค่อยสร้างมันขึ้นมาแต่ถ้าเป็นวงจรชีวิตของ KM จะมุ่งเน้นถึงผลลัพธ์ ไม่ได้มุ่งเน้นถึงกระบวนการ  " เริ่มต้นอย่างช้าๆแต่มีการเติบโต "


วงจรการพัฒนาระบบการจัดการความรู้8 ขั้นตอน


ขั้นตอนที่ 1 : ประเมินโครงสร้างเพื่อนฐานที่มีอยู่
-          ประเมินโครงสร้างเพื่อนฐานที่มีอยู่ ได้แก่ โครงสร้างฮาร์ดแวร์ พื้นที่ในการขัดเก็บข้อมูลว่าเรามีหน่วยความจำเท่าไร ดูจากแรม อื่นๆ
-          มีความรู้อะไรหรือไม่ที่จะหายไปจากการเกษียณอายุ แต่เขายังไม่ได้ถ่ายทอดทั้งหมดมันก็จะหายไปพร้อมกับตัวเขา หรือหายไปจากการโอนย้ายไปอีกฝ่ายหนึ่ง
-          ระบบ KM ที่นำเสนอต้องนำมาใช้ในหลายๆพื้นที่ หลายๆฝ่ายหรือป่าว อาจจะต้องมีความซับซ้อนมากขึ้น
-          มีผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ และเต็มใจช่วยเหลือในการสร้างระบบ KM หรือไม่
-          ปัญหาต่างๆที่เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบต้องใช้ประสบการณ์ยาวนานหลายๆปีหรือไม่ ต้องใช้ tacit หรือไม่

ขั้นตอนที่ 2 : จัดตั้งทีมระบบ KM
-         ผู้ที่เป็นหลัก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบ KMความสามารถของสมาชิกในทีม
-         ขนาดของทีม ทีมที่จะประสบความสำเร็จ ขนาด 7 คนโดยเฉลี่ย
-          ความซับซ้อนของโครงการ ถ้าซับซ้อนมากโอกาสที่ทีมจะสำเร็จน้อย
-         ภาวะผู้นำ และ แรงจูงในของทีมความสามรถที่จะดึงดูดให้ลูกน้องมาทำงานด้วยความเต็มใจ สั่งไปแล้วลูกน้องไม่ทำคือไม่มีภาวะผู้นำ 
-         ไม่สัญญามากไปกว่าสิ่งที่เราจะส่งมอบ สิ่งที่เป็นความเป็นจริงของระบบที่เราจะส่งมอบ

ขั้นตอนที่ 3 : แหล่งความรู้
-         ความรู้ชัดแจ้งจากแหล่งที่หลากหลาย
-         ความรู้โดยนัยดึงจากผู้เชียวชาญซึ่งจะต้องใช้เครื่องมือวิธีการที่หลากหลาย เช่นระบบพี่เลี้ยง AAR
-         นักพัฒนาจะไปดึงความรู้จากผู้เชียวชาญมาสร้างฐานความรู้มาไว้ในระบบ เพื่อนที่จะมา input ในการประมวลผลและได้ความรู้ต่างๆ

ขั้นตอนที่ 4 :  ออกแบบ KM Blueprint
 KM พิมพ์เขียวจัดการกับปัญหาหลายประการ :
-          ขั้นของการออกแบบพิมพ์เขียวของระบบ KM ออกแบบได้ในหลายๆทาง สุดท้ายแล้วขอบเขตที่เราต้องการมันจะต้องถูกคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ
-          มีการตัดสินใจอยู่บนองค์ประกอบของความต้องการของระบบ
-          มีการพัฒนาระดับชั้นที่สำคัญของสถาปัตยกรรมการพัฒนาระบบ KM
-          ระบบนี้อาจจะต้องสามารถใช้งานระว่างโครงสร้างพื้นฐานที่แตกต่างกันได้ สามารถขยายขนาดได้ 

ขั้นตอนที่ 5 :  การทดสอบระบบ KM
-          วิธีการตรวจสอบความเหมาะสมของระบบ เพื่อที่จะแน่ใจว่าระบบมีฟังก์ชั่นการทำงานที่เหมาะสม
-          วิธีการตรวจสอบเพื่อที่จะแน่ใจว่าระบบได้ผลลัพธ์ที่ถูต้อง
-          ตรวจสอบความถูกต้องของ KM ที่ไม่ได้ผิดพลาดจากความประมาท เช่นเราจะต้องเขียนโปรแกรมให้อ่านแต่ตัวเลข

ขั้นตอนที่ 6 :  ใช้ระบบ KM
-          เปลี่ยนไปสู่ระบบ Km ใหม่
-          การเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในเอกสาร หรือกระดาษให้อยู่ในรูปแบบ DATA ให้เป็น file
-          อบรมผู้ใช้งาน
-          การประกันคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญซึ่งรวมถึงการตรวจสอบสำหรับ :
-          ความผิดพลาดเชิงเหตุเชิงผล เช่น เขียนโปรแกรมคิดเกรด มีเงื่อนไขถ้าคะแนนเท่านี้ได้เกรดนี้ เราจะใช้คำสั่งอะไร
-          ตรวจถึงความคลุมเครือ
-          อะไรที่ไม่สมบูรณ์ไปปรับให้สมบูรณ์ เช่น กรอกข้อมูล ดอกจันสีแดงที่เราต้องกรอก
-          ตรวจความผิดพลาดระหว่าง เราตรวจแล้วมันถูกแต่จริงๆแล้วผิด เช่น เราตรวจแล้วให้คำตอบว่าผิดแต่จริงๆแล้วถูก เช่น ทางการแพทย์ หมอบอกว่าเป็นโรคนี้แต่ไม่ได้เป็น

ขั้นตอนที่ 7 :  จัดการโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงและรางวัล
-          เป้าหมาย คือ ต้องการลดแรงต่อต้านที่จะเกิดขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ จาก user พนักงาน และผู้ที่ก่อกวน
-          สะท้อนออกมาในรูปปฏิกิริยาโต้ตอบ เช่น บอกให้จะต้องกำหนด password ไม่ตำว่า 8 หลัก เขาอาจจะไม่ทำตาม หลีกเลี่ยง หรือก้าวร้าว

ขั้นตอนที่ 8 :  ประเมินผลจากการที่เอาระบบไปใช้แล้ว
-          ผลกระทบ : คน ขั้นตอนการ ผลการดำเนินงานของธุรกิจ



                                                          สถาปัตยกรรมของระบบ KM

User Interface : จะติดต่อกับ user  จะเห็นระบบเฉพาะส่วน เช่น เว็บเบราว์เซอร์

Authorized access control : การควบคุมสิทธิในการเข้าถึง บางระบบจะต้องผ่านการใส่ password ติดตั้ง Ftrewalls, e.g., security และ authentication

Collaborative intelligence and filtering : การทำงานร่วมกันของตัวแทนความเฉลียวฉลาด หรือตัวที่ดึงข้อมูลที่สำคัญมาใช้งาน

Knowledge-enabling applications: แอปพลิเคชั่นต่างๆที่ใช้ในระบบKM ได้แก่ customized applications, skills directories, videoconferencing, decision support systems,group decision support systems tools

Transport : ชั้นนำส่งข้อมูล จากการปฏิบัติงานจะได้ ประมวลผลความรู้ จะถูกนำส่งไปอีกเครื่องหนึ่ง ผ่านe-mail, Internet/Web site, TCP/IP protocol to manage traffic flow หรือ แสดงออกทางหน้าจอ

Middleware : ซอฟต์แวร์ที่ช่วยทำให้การทำงานของชั้นแอพพลิเคชั่น กับ เครือข่ายสามารถติดต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

The Physical Layer : ชั้นกายภาพจะประกอบไปด้วย แอปพลิเคชั่นรุ่นเก่า เช่น บัญชีเงินเดือน กรุ๊ปแวร์ การแลกเปลี่ยนเอกสาร การทำงานร่วมกัน คลังข้อมูล การล้างข้อมูล data mining
            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อหาที่แนะนำ

การสร้างเว็บไซต์ด้วย joomla

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ 2 ภาษา 1. เข้าไปที่หน้าของผู้ดูแลระบบ จากนั้นไปติดตั้งให้มี 2 ภาษาก่อน >>> ไปที่เมนู Extens...