บทที่ 2 แนวคิดการจัดการความรู้





การจัดการความรู้คืออะไร

      หลายท่านเห็นว่ามีคำว่าความรู้อยู่ก็เลยคิดว่าเป็นการจัดการที่ตัวความรู้ เช่นการฝึกอบรมวิชาการ  การจัดห้องสมุด การจับยัดความรู้วิชาการใส่ Web-site รายงานการประชุมต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นการหลงผิดและเป็นสาเหตุที่การจัดการความรู้ไม่ประสบความสำเร็จ
         
           Alavi & Leidner กล่าวว่า การจัดการความรู้ หมายถึง  กระบวนการเฉพาะที่เป็นระบบ และมีโครงสร้างเพื่อการได้มา รวบรวม และการสื่อสารความรู้ที่ลึกซึ้งจับต้อบได้ยาก (Tacit knowledge) และความรู้ที่จับต้องได้ง่าย (Explicit Knowledge) เพื่อให้ความรู้เหล่านั้นได้เป็นประโยชน์สูงสุด
           
          O'dell & Grayson  กล่าวว่า การจัดการความรู้ หมายถึง กลยุทธ์ในการที่จะทำให้คนได้รับความรู้ที่ต้องการ ภายในเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และนำความรู้ไปปฏิบัติ เพื่อยกระดับ และ ปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร

          ประเวส วะสี ให้ความหมายไว้ว่า การจัดการให้มีความรับรู้ความริง  สร้างความรู้ สังเคราะห์ความรู้ให้เหมาะสมกับงาน นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ในการปฏิบัติ มีการสร้างความรู้ในการปฏบัติงาน มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีการเอาผลการประเมินมาสู่การเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อยกระดับปัญญาของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เอาปัญญายกระดับกลับไปใช้ในการปฏิบัติงานอีก



            สรุป  การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการ หรือ ขั้นตอน ในการนำความรู้ที่ได้สั่งสมมามาผ่านกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งอาจจะผ่านการคิด การววิเคราะห์ ต่าง ๆ แล้วนำความรู้ที่ผ่านกระบวนการคิด การวิเคราะห์นั้น ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง และองค์กร













           คือการนำเอาความรู้โดยนัย (Tacit knowledge) กับ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) มาผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "เกลียวความรู้" ซึ้งคิดค้นโดย Takeuchi & Nanoka ทำให้ยิ่งให้ และ แลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้ก็ยิ่งสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ และไม่มีวันลดน้อยลง กระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้ใหม่ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 


1. การสร้างสัมพันธ์ทางสังคม (Socialization)               
2. การปรับเปลี่ยนสู่ภายนอก(Externalizatin)
3. การผสมผสาน (Combination)
4. การปรับเปลี่ยนสู่ภายใน (Internalization)




1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) : T to T 
กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ 

Exp.  การที่หัวหน้างานบริษัทแอร์เอเชีย  ได้เรียนรู้เทคนิคการปฏิบัติงานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่หัวหน้างานคนนั้นได้ไปพูดคุยปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง ๆ หัวหน้างานด้วยกัน หรือผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าทำให้หัวหน้างานคนนั้นมีทักษะการปฏิบัติงานที่ดี จึงได้มาทำการสอนลูกน้องของตนเองให้ทำงานอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพอย่างที่ตนเป็น

**************************************



2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization)  : T to E 
กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ เวทีการสัมมนาต่าง ๆ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย 


Exp. หัวหน้างานบริษัทแอร์เอเชีย หลังจากที่มีเทคนิคการปฏิบัติงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ก็มาทำการเขียนเทคนิคต่าง ๆ ที่ตนเองมีลงไปในหนังสือเพื่อถ่ายทอดเทคนิคที่คนเองมีแก่ผู้สนใจต่าง ๆ อาจจะเป็นแนวทางในการสร้างความรู้ใหม่ของผู้คนเหล่านั้นก็เป็นได้ 


**************************************


3. การควบรวมความรู้ (Combination) : E to E 
กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร 


Exp.  หัวหน้างานบริษัทแอร์เอเชีย หลังจากที่เขียนหนังสือจากเทคนิคการทำงานที่ตนเองมี เค้าคิดว่านั้นอาจจะไม่พอต่อผู้ที่สนใจเทคนิดการทำงานต่าง ๆ ในองค์กร หัวหน้างานคนนั้นก็ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานอย่างไรให้มีประโยชน์สูงสุด แล้วรวบรวมความรู้ต่าง ๆ แล้วนำมาเขียนเพิ่มเติมลงในหนังสือที่เค้าเขียน และเผยแพร่ต่อผู้ที่สนใจการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

**************************************




4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) : E to T 
กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร 


Exp.   หัวหน้างานบริษัท นกแอร์ , การบินไทย , ไลอ้อนแอร์ ที่กำลังศึกษาหาวิธีว่าจะทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพโดยศึกษาจากฐานความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งหนังสือที่หัวหน้างานบริษัทแอร์เอเชีย ได้เขียนไว้ หัวหน้างานบริษัท นกแอร์ , การบินไทย , ไลอ้อนแอร์ ก็ได้นำเอาแนวทางที่ตนเองได้ไปศึกษามานั้น มาใช้กับลูกน้องของตนเองทำให้เกิดความรู้ฝังลึกให้กับลูกน้องไปตลอดเวลา

**************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อหาที่แนะนำ

การสร้างเว็บไซต์ด้วย joomla

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ 2 ภาษา 1. เข้าไปที่หน้าของผู้ดูแลระบบ จากนั้นไปติดตั้งให้มี 2 ภาษาก่อน >>> ไปที่เมนู Extens...