ความหมายของความรู้ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของความรู้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน,2542) ให้ความหมายคำว่า “ความรู้” (Knowledge) คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและความเข้าใจ หรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติต่อองค์วิชา ในแต่ละสาขา
สมถวิล ผลสอาด (2555, หน้า 24) ได้สรุปความหมาย
ความรู้ไว้ว่า ความรู้นั้นเริ่มต้น จากระดับง่าย
ๆ ก่อนแล้วเพิ่มความสามารถในการใช้ความคิดและพัฒนาสติปัญญาเพิ่มขึ้น เป็ นล าดับ
โดยแบ่งออกเป็ น 5 ขั้น คือ ความรู้ ความเข้าใจ
การน าความรู้ไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล
และความรู้นั้นสามารถวัดได้โดยเครื่องมือที่ใช้ทดสอบความรู้ แบ่งได้เป็ น 2 ประเภท คือ แบบอัตนัย และแบบปรนัย
อัญชลี ศรีสมุทร์ (2552, หน้า 9) ความรู้
หมายถึง ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
หรือประสบการณ์ สามารถวัดได้วามีหรือไม่
สรุป ความรู้เกิดจากการประสบพบเจอสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวและเกิดการคิด การวิเคราะห์ การประมวลผล จนเกิดเป็นความเข้าใจแล้วสามารถนำความรู้ที่เข้าใจนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับนเอง หรือ องค์กร
สรุป ความรู้เกิดจากการประสบพบเจอสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวและเกิดการคิด การวิเคราะห์ การประมวลผล จนเกิดเป็นความเข้าใจแล้วสามารถนำความรู้ที่เข้าใจนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับนเอง หรือ องค์กร
ข้อมูล(data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ(ไพโรจน์ คชชา, 2542) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล
ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ
อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น
ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ
การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม การจองตั๋วเครื่องบิน การกดเงินจาก ATM เป็นต้น
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ
เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆโดยไม่กำหนดช่วงเวลา
(สํานักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,2548; 8)
หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ
· ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง
รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ
ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก
แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
· ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง
ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปีจนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
· ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ
ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น
เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก
สามารถถ่ายทอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
· ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล
วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่
กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น
สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้
1.ความรู้โดยนัยหรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจน (Tacit Knowledge)
จัดเป็นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ
ซึ่งเป็นทักษะหรือความรู้เฉพาะตัว ของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์
ความเชื่อหรือความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน เช่น การถ่ายทอดความรู้ ความคิด
ผ่านการสังเกต การสนทนา การฝึกอบรมความรู้ประเภทนี้เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้งานประสบความสำเร็จเนื่องจากความรู้ประเภทนี้เกิดจากประสบการณ์ และการนำมาเล่าสู่กันฟัง ดังนั้น
จึงไม่สามารถจัดให้เป็นระบบหรือหมวดหมู่ได้
และไม่สามารถเขียนเป็นกฎเกณฑ์หรือตำราได้ แต่สามารถถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ได้โดยการสังเกตและเลียนแบบ
Exp.การศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนแล้วเกิดการจำวิชาที่ได้เรียนมาในโรงเรียนจนทำให้เกิดการจดจำฝังลึกเข้า หรือ ความจำแบบซ่อนเร้น ซึ่งถ้าจะให้ถ่ายทอดความรู้ที่ได้สั่งสมมานั้น ช่างยากต่อการถ่ายทอดมาก
2. ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เป็นทางการ (Explicit
Knowledge)
เป็นความรู้ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
และใช้ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ เอกสารขององค์การ
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ อินทราเน็ต
ความรู้ประเภทนี้เป็นความรู้ที่แสดงออกมาโดยใช้ระบบสัญลักษณ์
จึงสามารถสื่อสารและเผยแพร่ได้อย่างสะดวกExp. การได้ไปอบรม หรือ สัมมนา ที่องค์กรจัดขึ้น เพื่อให้นักวิชาการมาถ่ายทอดความรู้ที่พวกเค้ามี เพื่อที่จะนำความรู้ที่ตนเองมีนั้น ไปต่อยอดความคิดให้กับผู้ฟังให้ได้มากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น