องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)หมายถึง องค์กรที่มีการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยน และค้นหาวิธีใหม่ๆในการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร โดยแบ่งองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) หมายถึง สถานที่และลักษณะทางกายภาพซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์กร
2. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยน ใช้ความรู้/แนวทางปฏิบัติที่ดีในการทำงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และมีการจัดเก็บเป็นคลังความรู้ขององค์กรต่อไป
3. เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Technology) หมายถึง ระบบการเรียนรู้และสนับสนุนการทำงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. การให้อำนาจแก่บุคคล (People Empowerment) หมายถึง การให้อำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการปฏิบัติการแก่บุคลากร
5. พลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamic) หมายถึง ความหลากหลายของการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร การเรียนรู้จากการปรับตัว การคาดการณ์ การเรียนรู้และการปฏิบัติโดยใช้ทักษะการเรียนรู้ เช่น แบบแผนทางความคิด (Mental Model) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) และการสนทนาอย่างมีแบบแผน (Dialogue)
เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลศิริราช
- เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน
- เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน
- เพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น
วิธีการดำเนินงานการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลศิริราช
ในระยะโครงการนำร่อง (พ.ศ. 2546-2547) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเลือกหัวข้อ
“การทำ CQI (Continuous Quality Improvement) ทางคลินิก” มาดำเนินการจัดการความรู้ตามแนวทางโครงการ
“การจัดการความรู้ในองค์กร” ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาแม้ว่าทีม
ดูแลผู้ป่วยจะมีโครงการพัฒนาคุณภาพมากมาย
แต่ความรู้เหล่านั้นจะอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น
ถ้ามีช่องทางหรือเวทีให้กลุ่มต่างๆ น าองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน ก็จะทำให้การดูแลผู้ป่วยมีการพัฒนา
อย่างรวดเร็วกว้างขวางขึ้น โดยตั้งเป้าหมาย (Desired state) ว่า
“มีระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้ด้าน CQI ทางคลินิก
เพื่อให้มี best practice ในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช”
การจัดการความรู้ตามโครงการ
“การจัดการความรู้ในองค์กร” ของสถาบัน
เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประกอบด้วย
1. การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
วิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการ จัดการความรู้
วางแผนและจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน
2. การสื่อสาร
ทำาการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร เช่น ความสำคัญ
ประโยชน์ต่อองค์กร ต่อบุคลากร การมีส่วนร่วม โดยกระทำอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง
ผ่านช่องทางหลากหลาย เช่น สารศิริราช เสียงตามสาย บอร์ดประชาสัมพันธ์ การประชุม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ KM website,
KM Call Center
3. กระบวนการและเครื่องมือ จัดทำฐานข้อมูล CQI และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
CQI สร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้
สร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP) ปรับระบบสารสนเทศให้
เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้
4. การเรียนรู้
จัดอบรมทักษะพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วารสาร
บอร์ดนิทรรศการ KM website
5. การวัดผล
วัดและประเมินการดำเนินงานโดยกำหนดตัวชี้วัดเป็นจำนวนผู้ชม KM website จำนวนผู้
เข้าเสวนาใน KM web board จำนวนผู้ขอคำปรึกษาที่ KM Call
Center จำนวนข้อมูลการทำ CQI ในเว็บไซต์
6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
มีการยกย่องชมเชยและให้รางวัลแก่บุคลากรที่มีการแลกเปลี่ยน ความรู้
เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ เช่น โล่ประกาศเกียรติคุณ เผยแพร่ภาพ ชื่อ
ผลงานผ่านสื่อ
ผลที่ได้จากโครงการนำร่อง คือ
1. เข้าใจเป้าหมายและกระบวนการในการทำ KM เกิดประสบการณ์จริงในองค์กร
2. ผู้บริหารเห็นความสำคัญ
มีนโยบายสนับสนุนที่ชัดเจน บุคลากรมีความตระหนักและมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น
3. มีการพัฒนาระบบสารสนเทศของคณะฯ
ให้เอื้อต่อการจัดการความรู้
4. มียุทธศาสตร์และแนวทางดำเนินการ KM อย่างเป็นระบบต่อไป
5. มีฐานข้อมูลด้าน CQI ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้าน
CQI
6. สามารถพัฒนาระบบในการกระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเป็น
CoP ได้เร็วขึ้น ช่วยให้ CoP สามารถดำเนินงานของกลุ่มต่อไปได้โดยมีการสนับสนุนจากคณะฯ
และผู้บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม
เงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลศิริราช
1. กำหนดทิศทาง กำหนดทิศทางการจัดการความรู้ โดยพิจารณาจากวิสัยทัศน์ สมรรถนะหลัก รวมทั้ง วัฒนธรรมองค์กรของคณะ ความท้าทายภายในและภายนอก ขั้นตอนการพัฒนาคณะฯ กลุ่มบุคลากร นำมาพิจารณากำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ในแต่ละระยะ เช่น เป้าหมาย พ.ศ. 2552 ดำเนินการตามประเด็นของ KMA ตามหมวดต่างๆ เป้าหมาย พ.ศ. 2554 เกิดนวัตกรรมด้าน Safety Goals และเผยแพร่ในระดับชาติ (Sepsis)
2. สื่อสาร เสริมทักษะ สื่อสารจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพ โดยพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบัน เปรียบเทียบกับเป้าหมาย ช่องว่างหรือ Gap คือโอกาสในการพัฒนา ต้องระบุความรู้ส าคัญที่จะเติมเต็ม Gap นี้ โดยใช้ช่องทางสื่อสารทั้งด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนั้นต้องเสริมทักษะ เกี่ยวกับเครื่องมือจัดการความรู้ เช่น เทคนิคการเล่าเรื่อง สุนทรียสนทนา การทบทวนหลังการปฏิบัติ ฯลฯ เพื่อน าไปสู่ Intellectual capital
3. บริหารจัดการด้วย Link-Share-Learn
Link หมายถึง การส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานค้นหาความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการทำงานจากคลังความรู้ ทั้งที่เป็นผู้เชี่ยวชาญภายใน/นอกคณะฯ หรือทีมสหสาขา หรือคลังความรู้ที่เป็นลาย ลักษณ์อักษร เช่น หนังสือ เอกสาร ตำรา ระบบเอกสารคุณภาพ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Intranet/ internet) เป็นต้น
Share หมายถึง การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายโอน ต่อยอดความรู้ ทั้งภายใน/ภายนอก หน่วยงาน เพื่อให้เกิดการสร้างความรู้ที่ดี และ/หรือนวัตกรรม ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น Content conference, CoP, Quality conference การประชุม/ อบรม/สัมมนา เป็นต้น
Learn หมายถึง การทบทวนและวิเคราะห์ผลลัพธ์การดำเนินการ (KPI) ข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ความ เสี่ยง การวิเคราะห์ตนเอง (เยี่ยมสำรวจ/ตรวจประเมิน) การเทียบเคียง ทั้งในระดับหน่วยงานและ คณะฯ รวมทั้งในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ (SiSPP) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ เครื่องมือคุณภาพต่างๆ สร้างนวัตกรรม (โครงการติดดาว) องค์ความรู้ และงานวิจัยจากงานประจำ
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ + จัดเก็บเป็นคลังความรู้ จัด Quality conference ทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับทีมต่างๆ เกิดการเชิดชู ต่อยอด คิดสร้างสรรค์ Quality fair ประจ าปี ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) สนับสนุนการเข้าร่วมประชุมระดับชาติ/นานาชาติ เช่น HA National Forum 150 คน/ปี ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน QD, KM, UM, R2R websites จัดท าจุลสาร QD รายเดือน
5. ประเมินผล การเยี่ยมสำรวจภายในประจำปี โดยเรียนรู้จากมาตรฐาน เกณฑ์ประเมินภายนอก กำหนดนโยบาย เกณฑ์การประเมิน วิธีการ/รูปแบบ คุณสมบัติผู้เยี่ยมสำรวจ ต่อจากนั้นเตรียมการ ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานกับกรรมการ ศึกษารายงานการประเมินตนเอง ระหว่าง เยี่ยมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานกับกรรมการ ต่อยอดพัฒนา กระตุ้นการสร้าง นวัตกรรม
6. ยกย่องเชิดชู ด้วยการจัดกิจกรรมโครงการติดดาว เพื่อ
1) เป็นการยกย่อง และสร้างขวัญก าลังใจ แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ของคณะฯ
2) เสริมสรางบรรยากาศของการคิดริเริ่มสรางสรรคและการ สรางนวัตกรรม
3) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม ในการพัฒนาคุณภาพงานอยางเปนระบบ โดยใช้ KM Tools ในการ ขับเคลื่อนตลอดกระบวนการ
เทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศที่ทางโรงพยาบาลนำมาจัดการเกี่ยวกับความรู้
มีการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์การอย่างทั่วถึง และต่อเนื่องผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น
- สารศิริราช
- เสียงตามสาย
- บอร์ดประชาสัมพันธ์
- การประชุมและกิจกรรม
- เว็บไซต์
- Km Call Center
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ + จัดเก็บเป็นคลังความรู้ จัด Quality conference ทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับทีมต่างๆ เกิดการเชิดชู ต่อยอด คิดสร้างสรรค์ Quality fair ประจ าปี ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) สนับสนุนการเข้าร่วมประชุมระดับชาติ/นานาชาติ เช่น HA National Forum 150 คน/ปี ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน QD, KM, UM, R2R websites จัดท าจุลสาร QD รายเดือน
5. ประเมินผล การเยี่ยมสำรวจภายในประจำปี โดยเรียนรู้จากมาตรฐาน เกณฑ์ประเมินภายนอก กำหนดนโยบาย เกณฑ์การประเมิน วิธีการ/รูปแบบ คุณสมบัติผู้เยี่ยมสำรวจ ต่อจากนั้นเตรียมการ ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานกับกรรมการ ศึกษารายงานการประเมินตนเอง ระหว่าง เยี่ยมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานกับกรรมการ ต่อยอดพัฒนา กระตุ้นการสร้าง นวัตกรรม
6. ยกย่องเชิดชู ด้วยการจัดกิจกรรมโครงการติดดาว เพื่อ
1) เป็นการยกย่อง และสร้างขวัญก าลังใจ แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ของคณะฯ
2) เสริมสรางบรรยากาศของการคิดริเริ่มสรางสรรคและการ สรางนวัตกรรม
3) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม ในการพัฒนาคุณภาพงานอยางเปนระบบ โดยใช้ KM Tools ในการ ขับเคลื่อนตลอดกระบวนการ
เทคโนโลยีสื่อสารสารสนเทศที่ทางโรงพยาบาลนำมาจัดการเกี่ยวกับความรู้
มีการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์การอย่างทั่วถึง และต่อเนื่องผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น
- สารศิริราช
- เสียงตามสาย
- บอร์ดประชาสัมพันธ์
- การประชุมและกิจกรรม
- เว็บไซต์
- Km Call Center
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น